๑) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (random access memory :RAM)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แรม เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผล หรือเมื่อเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน่วยความจำประเภทนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย ซึ่งอาจเรียกว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) หากเกิดกระแสไฟฟ้าดับ หรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในความจำจะถูกลบไป แรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด ดังนี้
๑.๑) แรมหลัก (main RAM) ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง หรือโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลและคำสั่งในแรมแบบรวดเร็ว ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในภายหลัง ผู้ใช้ต้องย้ายข้อมูลจากแรมไปเก็บไว้ที่หน่วยงามจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ออคัลดิสก์ แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น โดยการสั่งคำบันทึกจากโปรแกรมที่ใช้งาน
๑.๒) แรมวีดีทัศน์ (video RAM) ใช้เก็บข้อมูลสำหรับจอภาพ ทำให้สามารถส่งภาพไปที่จอได้เร็วขึ้น นิยมใช้กับการเล่นเกมและงานด้านกราฟิก เพื่อช่วยให้ภาพปรากฏที่หน้าจอได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วการวัดขนาดของหน่วยความจำ นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร ๑ ตัว โดยคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วมากขึ้น ซึ่งหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีดังนี้
1 Byte (ไบต์) = ๑ ตัวอักษร
1 KB (กิโลไบต์) = ๑๐๒๔ ตัวอักษร (ประมาณ ๑ พันตัวอักษร)
1 MB (เมกะไบต์) = ๑๐๔๘๕๗๖ ตัวอักษร (ประมาณ ๑ ล้านตัวอักษร)
1 GB (กิกะไบต์) = ๑๐๗๓๗๔๑๘๒๔ ตัวอักษร (ประมาณ ๑ พันล้านตัวอักษร)
|
ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่ 256 MB 512 MB 1GB 2GB 4 GB เป็นต้น
๒) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (read only memory :ROM)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รอม เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตติดตั้งชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง นั่นคือ เมื่อเปิดเรื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งในรอมได้ ชุดคำสั่งที่ติดตั้งในรอมอย่างถาวรมาตั้งแต่การผลิตของบริษัทเรียกว่า เฟิร์มแวร์ (firmware) ปัจจุบันรอมมีอยู่หลายชนิด บางชนิดมีความสามารถเพิ่มเติมด้วยชุดคำสั่งด้วยโปรแกรมพิเศษได้ ชนิดของรอมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Mark ROM, PROM EPROM และ EEPROM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น