วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน่วยความจำรอง

             หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลลำสั่งมาใช้ภายหลังได้ ซึ่งหน่วยวามจำรอง มีความจุข้อมูลได้มากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

            ๑) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ใช้หลักการของการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม(random access) กล่าวคือ ถ้าต้องกาข้อมูลลำดับที่ ๒๑ หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาได้ทันที หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read/write head) โดยฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นจานแม่เหล็กเรียงซ้อนกันหลายๆแผ่น ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแผ่นแม่เหล็ก ยกเว้นแผ่นสุดท้ายที่ติดกับกล่องจะบันทึกข้อมูลได้เพียงหน้าเดียว โดยที่ทุกแทร็ก (track) และเซกเตอร์ (sector) ที่ตำแหน่งตรงกันของขอฮาร์ดดิสก์หนึ่งๆ จะถูกเรียกว่า ไซลินเดอร์ (cylinder)
            การทำงานของหัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้น หากมีฝุ่นไปกีดขวางหัวอ่านและบันทึก อาจทำให้หัวอ่านและบันทึกกระแทกกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ทำให้แผ่นเกิดความเสียหาย และเกิดวามผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลได้
            ความจุของฮาร์ดดิสก์มีหน่วยตั้งแต่ไบต์ เมกะไบต์ กิกะไบต์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากสามารถจะเก็บข้อมูลได้มาก
            ๒)เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมน้อยลง ใช้สำหรับการเก็บสำรองข้อมูล (backup) เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักกาการของเข้าถึงแบบลำดับ (sequential access)
ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือ ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้มาก เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เลี่ยนจาการเล่น(play) และการบันทึก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write)

            ๓) ออปติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและราคาไม่แพง ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
                            .๑) ซีดีรอม(CD-ROM : compact disk-read-only memory) คือ หน่วยความจรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้อีก
                            .๒)ซีดีอาร์ (CD-R : compact disk recordable) คือ หน่วยความจำรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมลงแผ่นเดิมได้จนกว่าข้อมูลจะเต็มแผ่น
                            .๓) ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : compact disk rewritable) คือ หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น แลสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิมได้ หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้
                            .๔) ดีวีดี (DVD : digital video disk) เป็นเทคโนโลยีที่กลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีการบีบอัดมากขึ้น ดีวีดีแผ่นหนึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ ๔.๗ กิกะไบต์ถึง ๑๗ กิกะไบต์ ดีวีดีแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
                                            (๑) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาเกินกว่าสองชั่วโมงได้
                                            (๒) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ซึ่งมีราคาสูงกว่าดีวีดีรอม หลังจาที่มีกาบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดีอาร์แล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเลี่ยนแปลงข้อมูลได้
                                            (๓) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทโนดลยีแบบแสง มีเครื่องอ่านที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้
                            .๕) บลูเรย์ดิสก์ (blue ray disk) เป็นเทคโนยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความระเอียดสูงได้ถึง ๑๐๐ กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มันำมาใช้ในการบันทึกภาพยนตร์

            ๔) หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) มีชื่อเรียกหลายอย่าง ได้แก่ แฟลชไดรฟ์(flash drive) ธัมไดรฟ์(thumb drive) หรือแฮนดีไดรฟ์(handy drive) เป็นหน่วยความจำรองชนิดอีอีพร็อม (electrically erasable programmable read – only memory :EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูล เขียน และลบข้อมูลได้ตามต้องการ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก
            ปัจจุบันหน่วยความจำแบบแฟลชสามารถเก็บข้อมูลตั้งแต่ 128MB 256MB 512MB 1GB 2GB จนถึง 16GB และนับวันจะยิ่งมีความจุมากขึ้น
            นอกจากหน่วยสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอุปกรณ์สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ แผนวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เรียกว่า แผนวงจรหลัก (main board) ซึ่งประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำ ชิปประมวลผลเสริม(coprocessor) และมีช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ป้อนข้อมูลและแสดงผล รวมทั้งมีช่องเสียบขยาย (expansion slot) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้สำรองไว้ใช้กับการ์ดเพิ่มเติม (expansion card) หรือตัวปรับต่อ(adapter) อื่นๆ
                ปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เห็นแลจับต้องได้ที่กล่าวมาแล้วนั้น เรียกว่า ฮาร์ดแวร์(hardware) ซึ่งมีการพัฒนาทั้งด้านวามเร็ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้หลากหลายรูปแบบ มีราคาถูกลงและเทคโนโลยีทางด้านนี้ก็มารเลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาที่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น